

ป ร ะ วั ติ
๒
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่
สมัยอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ
ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา


ที่มา : Joseph Benchapol




จากริ้วกระบวนเรือในตำราเพชรพวงพยุหยาตรา และบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีที่ต่างกันคือ ตำแหน่งที่ตั้งของเรือ ตรงที่เป็นหัวเรือเดิมเป็นเรือกันและที่เรือดั้ง
เดิมจะมีเรือนำหน้าเรือพระที่นั่ง ซึ่งตรงที่เป็นเรือนำในสมัยหลังเป็นเรือดั้ง ลำซ้ายตั้งผ้าไตรหรือพานพุ่มดอกไม้ ซึ่งมีหลายลำเรียงกัน (เรือดั้งแต่เดิมอยู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง)
ริ้วกระบวนเรือจัดเห่ ออกเป็น ๕ สาย คือ
๑. สายกลาง เป็นริ้วเรือพระที่นั่ง เรียกว่าสายพระราชยาน
๒. สายในซ้าย และสายในขวา เป็นริ้วเรือแห่ เรียกว่า สายคู่แห่
๓. สายนอกซ้าย และสายนอกขวา เป็นริ้วเรือกัน เรียกว่า สายกัน
ระเบียบกระบวนนั้นจัดแบ่งออกเป็น ๕ ตอน ตอนหน้าเรียกว่า กระบวนนอกหน้า ได้แก่ ทหารกองนอก ถัดมาเป็นกระบวนในหน้า ได้แก่ ทหารรักษาพระองค์ ตอนกลางเป็นกระบวนเรือพระราชยาน ตอนหลังชั้นในเรียกว่า กระบวนในหลัง ได้แก่ ทหารรักษาพระองค์ ตามด้วยกระบวนหลังนอก ได้แก่ ทหารกองนอก ทั้ง ๕ ตอนนี้ มีเรือประตูคั่นทุกตอน