top of page

 

พ ร ะ ร า ช พิ ธีท า ง ช ล ม า ร ค

        เรือพระราชพิธีนั้นหมายถึง เรือสำหรับใช้ในการประกอบพระราชพิธีชลมารคที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค  ถือเป็นพระราชพิธีดั้งเดิมสืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 

ซึ่งก็คือการจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง การรบทางน้ำในสมัยโบราณนั้นส่วนใหญ่รบกันทางทะเลหรือแม่น้ำ ดังนั้นเรือที่ใช้ในการรบการสงครามจึงต้องมีขนาดใหญ่และยาว

 

        กระบวนพยุหยาตรา คือ กระบวนการพระราชพิธีที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น มีหลายกระบวนพิธี ซึ่งพิธีหนึ่งก็เป็นเฉพาะกองพระมหากษารนั้นๆ ดังนั้นกระบวนการพยุหยาตราชลมารคก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่จัดเป็นกระบวนโดยทางน้ำ ซึ้งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ มักจัดขึ้นในโอกาส ที่ต้องเสด็จกรีฑาทัพในศึกสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี พระราชพิธีที่เนื่องด้วยเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค  คือ

 

       ๑ พระราชพิธีอาสยุชพิธี เป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับกระบวนเรือรบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

       ๒ พระราชพิธีไล่เรือ

 

       ๓ กระบวนเสด็จพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้มีการใช้เรือรบโบราณประกอบพิธีแห่แหนทูตชาวตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอย่างมโหฬาร

 

       ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้จัดเรือเหล่านี้ต้อนรับบรรดานุทูตที่ปากน้ำสมุทรปราการแห่เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ตามในวรรณกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในสมัยรัชกาลที่ ๑ วึ่งถือว่าเป็นพระราชพิธีสืบเนื่องมาแต่ครั้งอยุธยาที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง 

 

       โดยเฉพาะเป็นการพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการต้อนรับทูตตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีสมัยต่างๆ ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

( เรือพระราชพิธีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พิมพ์ในเอกสารชาวฝรั่งเศส เมื่อราว พ.ศ.๒๒๓๖ )

 

            ๔ กระบวนการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครเนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่๑ ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างเรือรบชนิดต่างๆ ๖๗ ลำ เพื่อใช้เป็นเรือรบทางแม่น้ำในการยกทัพไปโจมตีข้าศึกโดยเฉพาะพม่าที่ยังคงมีสงครามติดพันอยู่ และโปรดฯ ให้ใช้เป็นเรือในการประกอบพระราชพิธีสำคัญๆ ดังเช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น

  •  

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

      

  •      

  •      ๕ กระบวนเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตรา ชลมารค (รวมทั้งสถลมารค) เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยอยุธยา  ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

  •  

  •      ๖ พระราชพิธีถวายผ้ากฐิน เป็นการพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จพยุหยาตราที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกบินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.  ๒๕๐๒

 

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้ฟื้นฟูจารีตประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคกระบวนใหญ่ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๒ เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จฯ ยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย

ทอดพระเนตรเรือในสภาพชำรุดทรุดโทรม  จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินการถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก  เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการเช่น เรือพระราชพิธีต่างๆอันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้  ได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติที่เราได้กระทำมาแล้วแต่กาลก่อน ให้ดำรงอยู่เป็นที่เชิดชูตาของชาติ

เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของคนไทย และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(กระบวนกานพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกบินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.  ๒๕๐๒)

 

bottom of page