top of page

 

เ รื อ ใ น ก ร ะ บ ว น พ ยุ ห ย า ต ร า ช ล ม า ร ค

เรือพระที่นั่ง

                                 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน

โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน

หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาทโดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว

 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

       โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก .46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีพลตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล)

เป็นนายช่าง ประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454

 

           โครงสร้างของเรือ นาวาสถาปนิกของเรือสุพรรณหงส์คือ พลเรือตรีพระยาราชสงคราม

(กร หงสกุล) จัดเป็นเรือพระที่นั่งกีบ มักใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของพระเจ้าอยู่หัว โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.9 เมตร กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.9 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.5 เมตร (พายครั้งหนึ่งแล่นไปได้ไกล 3.5 เมตร) หนัก 15.1 ตัน พายทอง

 

        เรือสุพรรณหงส์ใช้ลูกเรือทั้งสิ้น 57 คนเป็นฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน และคนเห่เรือ 1 คน

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้าง

เรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

 

      ขนาดของเรือ มีความยาว 44.3 เมตร ความยาวแนวน้ำหนักบรรทุกเต็มที่ 34.6 เมตร ความกว้าง 3.2 เมตร ความลึก 1.1 เมตร กินน้ำลึก 0.4 เมตร ระวางน้ำบรรทุกขับเต็มที่ 20 ตัน มีฝีพาย 50 นาย สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ 11.9 ล้านบาท

       ลักษณะโขนเรือ โขนเรือทำจากไม้สักทอง[5]ลงรักปิดทองประดับกระจก จำหลักรูปพระนารายณ์ 4 กร

ทรงเทพศาสตรา ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์ และ มงกุฎยอดชัย ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ

ลายบริเวณหัวเรือมีลักษณะเป็น ก้านขดใบเทศมีครุฑประกอบที่กัวก้านขด

เรือคู่ชัก / เรือเอกไชย

 

 

 

เรือเอกไชยเหินหาว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือเอกไชยเหินหาว เป็นเรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำหน้าที่เป็นเรือคู่ชักใช้นำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คู่กับเรือเอกไชยหลาวทองหรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่ง ในกรณีที่ฝีพายไม่เพียงพอ

โขนเรือ เป็นไม้รูปดั้งเชิดสูง เขียนลายรดน้ำรูปเหราหรือ จระเข้ ปิดทองขนาด ความยาว 29.76 เมตร กว้าง 2.06 เมตร กินน้ำลึก 0.60 เมตร กำลัง 3.00 เมตรเจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย 38 นาย นายท้าย 2 นาย

เรือเอกไชยหลาวทอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชัก คู่กับเรือเอกไชยเหินหาว สำหรับใช้ช่วยชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในงานพระราชพิธี ลำปัจจุบันเป็นลำที่สอง ที่สร้างขึ้นทดแทนลำเดิม ที่ถูกระเบิดได้รับความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2487 และกรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2491

เรือเอกไชยหลาวทองลำเดิม ไม่พบหลักฐานการสร้าง ส่วนลำปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมอู่ทหารเรือวางกระดูกงูเรือเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2508 เริ่มสร้างเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2508 และได้ลงน้ำครั้งแรกเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2510

จากนั้นจึงตกแต่งตัวเรือโดยช่างแกะสลักใช้เวลาทำงานประมาณ 14 เดือน ช่างรักปิดทองทำนาน 6 เดือน

ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน

 

ในปี พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทอง ทาสีตัวเรือใหม่และอื่นๆ เพื่อให้ใช้ทันในงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 เริ่มซ่อมตั้งแต่ 4 กันยายน พ.ศ. 2524 จนถึง 2 มีนาคม พ.ศ. 2525

เรือรูปสัตว์

 

เรือพาลีรั้งทวีป เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดเป็นเรือกระบวนปิดทอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง โขนเรือเป็นรูปพาลีปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง เรือยาว 27.54 เมตร กว้าง 1.99 เมตร ลึก 0.59 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร หัวเรือกว้างมี รูกลมโผล่ทางหัวเรือสำหรับติดตั้งปืนใหญ่บรรจุทางปากกระบอกได้ 1 กระบอก ขนาดปากกระบอก 65  มม. เหนือช่องปืนแกะเป็นรูปขุนกระบี่สีเขียว มีฝีพาย 34 คน นายท้าย 2 คน นายลำแต่งตัวสวมมาลา สวมเสื้อตาดอย่างน้อยทนายหมอบหน้า สวมเสื้ออัตลัค โพกแพรสี ฝีพาย สวมกางเกงมัสรู่ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือสุครีพครองเมือง เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค โขนเรือเป็นรูปสุครีพปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง เรือยาว 27.45 เมตร กว้าง 1.39 เมตร ลึก 0.59 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร หัวเรือกว้างมี รูกลมโผล่ทางหัวเรือสำหรับติดตั้งปืนใหญ่บรรจุทางปากกระบอกได้ 1 กระบอก ขนาดปากกระบอก 65 มม. เหนือช่องปืนแกะเป็นรูปขุนกระบี่สีแดง นายลำ สวมมาลา เสื้อตาดอย่างน้อย ทนายหมอบหน้า สวมเสื้ออัตลัด โพกแพรสี ฝีพายสวมกางเกงมัสรู่ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี

เรืออสุรวายุภักษ์ เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรืออสุรวายุภักษ์ โขนเรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีม่วง ลักษณะและขนาดของเรือใกล้เคียงกับเรือกระบี่ ปราบเมืองมาร การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม

สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี

เรืออสุรปักษี เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค โขนเรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีเขียว ปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร หน้ามีลักษณะเหมือนรูปโขน ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ[2] ยาว 13 วา 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 4 ศอก ลึก 1 ศอก กำลัง 5 ศอก 4 นิ้ว ลำเดิมถูกระเบิดเสียหาย กรมศิลปากรเก็บหัวเรือท้ายเรือไว้ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ. 2591

 

ส่วนลำปัจจุบันสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาซ่อมแซม ช่างแกะสลักลวดลายทำงานประมาณ 12 เดือน ช่างรักทำงานประมาณ 4 เดือน ช่างเขียนทำงานประมาณ 6 เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน น้ำหนัก 5.62 ตัน ยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึก 0.51 เมตร กินน้ำลึก 0.25 เมตร ฝีพาย 36 นาย นายท้าย 2 นาย หัวเรือมีช่องสำ หรับติดตั้งปืนใหญ่ 1 กระบอก ขนาด 65 มม.

เหนือช่องปืนและเป็นรูปขุนกระบี่สีขาว

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค โขนเรือเป็นรูปขุนกระบี่สีดำปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง

 

เรือยาว 26.8 เมตร กว้าง 2.02 เมตร ลึก 0.56 เมตร กินน้ำลึก 0.3 เมตร มีฝีพาย 36 คน นายท้าย 2 คน ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี

เรือครุฑเหินเห็จ ซึ่งปรากฎอยู่ในตำนานของอินเดียว่าเป็นพาหนะของพระนาราย์ณ เป็นอมนุษย์ที่มีศีรษะ ปีก กรงเล็บ และจะงอยอย่างนกอินทรีย์ มีส่วนร่างกายและแขนขาอย่างมนุษย์ ในงานศิลปะมักปรากฎรูปครุฑอยู่กับนาค ซึ่งสร้างตามเรื่องราวที่กล่าวว่าครุฑและนาคเป็นอริกัน เนื่องจากมารดาของครุฑแพ้พนันมารดาของนาคจึงถูกนำไปคุมขังไว้ใต้บาดาล ครุฑจึงตามไปช่วยมารดาและเกิดการต่อสู้กับพวกนาค บางตำนานกล่าวว่ามารดาของครุฑขอพรจากบิดาให้ครุฑจับนาคกินเป็นอาหารได้ รูปครุฑยุดนาคที่ใช้เป็นหัวเรือครุฑเหินเห็ดก็คงสร้างขึ้นตามเรื่องราวตามตำนานนี้

 

เรือลำนี้มีขนาดกว้าง 2.10 เมตร ยาว 28.58 เมตร ลึก 0.56 เมตรฝีพาย 34 นาย เจ้าหน้าที่ประจำเรือ 7 นาย ส่วนโขนเรือเป็นของเดิมไม่ทราบปีที่สร้าง ส่วนลำเรือสร้างใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2510 โขนเรือเป็นรูปครุฑ เป็นเรือประกอบขบวนในงานพระราชพิธี เรือลำนี้เคยถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2487 พร้อมกับเรือกระบี่ปราบเมืองมารและเรือเอกไชยเหินหาว ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นจึงนำโขนเรือเดิมมาทำขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาบูรณะ ส่วนท้ายเรือทำใหม่ ได้รับการบูรณะเป็นระยะๆ และได้ใช้ในงานพระราชพิธีจนกระทั่งปัจจุบัน

เรือประตูหน้า

เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำยาว 13 วา 1 ศอก 1 คืบ กว้าง 3 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว ลึก 1 ศอก 9 นิ้ว กำลัง 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว

 

ถูกระเบิดชำรุดกรมศิลปากรเก็บหัวเรือและท้ายเรือไว้ ลำปัจจุบันสร้างใหม่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2511 น้ำหนัก 5.97 ตัน กว้าง 1.9 เมตร ยาว 27.1 เมตร ลึก 0.52 เมตร กินน้ำลึก 0.29 เมตร ฝีพาย 34 คน นายท้าย 2 คน การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง[1] ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี

เรือเสือทยานชล เป็นเรือประตูหน้าในประเภทเรือพิฆาต เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค หัว เรือทำเป็นรูปหัวเสือ มีคฤห์สำหรับอำมาตย์ฝ่ายทหารนั่ง เป็นเรือรบที่อยู่ในริ้วที่ ๒ และริ้วที่ ๔ ถัดจากเรือประตูหน้าเข้ามาในกระบวน มีปืนจ่ารงตั้งที่หัว เรือ เรือพิฆาต ทั้ง ๒ ลำนี้ จะแล่นส่าย

โดยเรือเสือทยานชลแล่นส่ายนอกด้านขวา และเรือคำรณสินธุ์แล่นส่ายนอกด้านซ้าย การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายละนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ

โพกขลิบทอง

 

เรือเสือคำรณสินธุ์ จัดอยู่ในประเภทเรือเหล่าแสนยากรทำหน้าที่เป็นเรือพิฆาต ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 1 บริเวณหัวเรือวางปืนใหญ่ประเภทปืนจ่าลงจำนวน 1 กระบอก ขนาดลำเรือกว้าง 1.75 เมตร ยาว 22.2 เมตร ลึก 0.7 เมตร กำลังพลภายในเรือประกอบด้วย

นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย นั่งคฤห์ 3 นายประกอบด้วยนายทหาร 1 นาย พลฯ 2 นาย คนสัญญาณ 1 นาย แตรเดี่ยว 1 นาย วิทยุ 1 นาย

 

เรือทองขวานฟ้า เป็นเรือประตูหน้า หนึ่งในสองของเรือคู่แรกในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือลำเดิมไม่พบหลักฐานในการสร้าง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกลูกระเบิด ตัวเรือได้รับความเสียหาย กรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2507 ได้สร้างตัวเรือขึ้นใหม่ โดยใช้หัวเรือเดิมและได้แกะสลักลวดลาย คาดหัว-ท้ายเรือ ปิดทองประดับกระจก พร้อมกับจัดทำเครื่องตกแต่งเรือใหม่เรือทองขวานฟ้าลำปัจจุบันกว้าง 1.75 เมตร ยาว 32.23 เมตร ลึก 0.64 เมตรฝีพาย 39 นาย นายท้าย 2 นาย และนายเรือ 1 นาย ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า หนึ่งในสองของเรือคู่แรกในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือลำเดิมไม่พบหลักฐานในการสร้าง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกลูกระเบิด ตัวเรือได้รับความเสียหาย กรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2507 ได้สร้างตัวเรือขึ้นใหม่ โดยใช้หัวเรือเดิมและได้แกะสลักลวดลาย คาดหัว-ท้ายเรือ ปิดทองประดับกระจก พร้อมกับจัดทำเครื่องตกแต่งเรือใหม่

ตัวเรือกว้าง 1.83 เมตร ยาว 32 เมตร ลึก 0.64 เมตร ใช้ฝีพาย 39 นาย นายเรือ 1 นาย และนายท้าย 2 นาย[1] ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรืออีเหลือง คือเรือกราบ ใช้เป็นเรือกลอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ใน พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เรืออีเหลือง ขนาดของเรือ กว้าง 1.68 เมตร ยาว 24.25 เมตร ฝีพาย 27 นาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือแตงโม คือเรือกราบ ใช้เป็นเรือกลอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง มีการซ่อมครั้งใหญ่ ใน พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เรือแตงโม ขนาดของเรือ กว้าง 1.91 เมตร ยาว 25.0 เมตร  ฝีพาย 28 นาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือดั้ง คือเรือที่ทำหน้าที่ป้องกันกระบวนหน้า เพราะคำว่าดั้งหมายถึงหน้า ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ในปี พ.ศ.2506 กรมอู่ทหารเรือได้ต่อเรือดั้ง 6 ขึ้นใหม่ โดยวางกงเหล็กเพื่อให้เรือแข็งแรงและทนทานทำให้ ตัวเรือหนักมาก มีการซ่อมใหญ่ในปี พ.ศ.2524 เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาสีน้ำมัน ไม่มีลวดลายอย่างใด แต่ปัจจุบันหัวเรือปิดทอง มี 22 ลำ มีชื่อเรียกตามลำดับตั้งแต่ เรือดั้ง 1  ถึง เรือดั้ง 22  ขนาดของเรือ ยาว 23.68–27.35 เมตร กว้าง 1.55–1.81 เมตร จำนวนฝีพาย 26–32 นาย ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือแซง คือเรือกราบ เป็นเรือเล็กและเร็ว จัดเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์ ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ส่วนมากมักจะซ่อมทำโดยการเปลี่ยนไม้ที่เก่าออก แล้วใส่ไม้ใหม่ มีการซ่อมใหญ่ในปี พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่  มี 7 ลำ มีชื่อเรียกตามลำดับ ตั้งแต่ เรือแซง 1 ถึง เรือแซง 7 ขนาดของเรือ ยาว 22.12–26.10 เมตร กว้าง 1.30–1.62 เมตร จำนวนฝีพาย 20–30 นาย ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ

 

 

 

 

 

 

เรือตำรวจ 1 เป็นเรือกราบ จัดอยู่ในประเภทเรือเหล่าแสนยากรทำหน้าที่เป็นคุ้มกันขบวนเรือพระที่นั่งภายในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นเรือสำหรับพระตำรวจหลวงที่เป็นข้าราชการในสำนักทาน้ำมันสีดำเกลี้ยงตลอดทั้งลำเรือ ขนาดลำเรือกว้าง 1.41 เมตร ยาว 20.97 เมตร ลึก 0.47 เมตร

      กำลังพลพายในเรือตำรวจ 1 ระกอบด้วย ฝีพาย 20 นาย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย คนสัญญาณ 1 นาย แตรเดียว 1 นาย ตำรวจหลวง 1 นาย วิทยุ 1 นาย

 

เรือพระราชพิธีอื่น

เรือกลอง

เรือตำรวจ

bottom of page